การทำ SEO แบบ On-page Optimization
การปรับแต่งเว็บเกี่ยวกับปัจจัยภายใน หรือส่วนต่างๆ ของหน้าเว็บ ได้แก่ การวางโครงสร้างเว็บ, การเขียนโค้ดในหน้าเว็บเพจ และการเขียนเนื้อหาให้เหมาะกับ Search Engine รวมถึงการกระจายคีย์เวิร์ดในส่วนต่างๆ
ผู้อ่านควรมีมีพื้นฐานในการเขียนเว็บเพจด้วย HTML มาบ้าง อย่างน้อยต้องรู้จักโครงสร้างเอกสาร HTML สามารถศึกษาก่อนได้จาก บทเรียนออนไลน์สอน HTML
<head>
<title>ชื่อของหน้าเว็บเพจ</title>
<meta name=”keywords” content=”keyword1, keyword2″ />
<meat name=”description” content=”ข้อความบรรยายเว็บไซต์ด้วยประโยคสรุป” />
</head>
<body>
<h1>หัวข้อเรื่องของเนื้อหา</h1>
<p>เนื้อหา <strong>คำสำคัญ</strong> เนื้อหา</p>
<body>
</html>
มาดูกันเลยค่ะว่าการทำ SEO แบบ On-page Optimization ทำได้อย่างไรบ้าง (ข้อมูลส่วนใหญ่อ้างตามคู่มือการทำ SEO สำหรับผู้เริ่มต้นฉบับภาษาไทยจาก Google)
1. ตั้งชื่อให้เว็บเพจว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร และไม่ซ้ำกันในแต่ละหน้า
ชื่อของเว็บเพจนั้นจะบ่งบอกให้ผู้ชมทราบว่าเนื้อหาในหน้าเว็บนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไร ซึ่ง Search Engine ก็ใช้ในการคาดเดาเนื้อหาของเว็บเราเช่นกัน การตั้งชื่อให้หน้าเว็บเพจนั้นทำโดยการใส่ข้อความในแท็ก <title> ที่อยู่ในแท็ก <head> ในไฟล์เอกสาร webpage
ตัวอย่าง
<title>แนะนำการสร้างเว็บไซต์ สอนทำเว็บไซต์ตั้งแต่พื้นฐาน บทเรียนออนไลน์สอน HTML, CSS, XHTML, Joomla!</title>
<meta name=”description” content=”enjoyday.net แนะนำการสร้างเว็บไซต์ บทเรียนออนไลน์สอนเขียนเว็บเพจด้วย HTML, CSS, XHTML, JavaScript และข้อมูลข่าวสารในแวดวงคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตต่างๆ ที่น่าสนใจ” />
<meta name=”keywords” content=”การสร้างเว็บไซต์, สอนทำเว็บไซต์, สอนสร้างเว็บไซต์, สอน HTML, สอน CSS, สอน XHTML, สอนทำ Blog, สอน Joomla” />
</head>
ชื่อของเว็บเพจที่เราตั้ง หรือ ข้อความใน Title Tag จะถูกแสดงอยู่บน Title bar ของเว็บเบราเซอร์
และ Google ก็จะนำข้อความใน Title Tag ที่เราระบุไว้ มาแสดงในผลการค้นหาด้วย (คำที่เราใช้เป็นคีย์เวิร์ดในการค้นหาจะแสดงเป็นตัวอักษรสีแดง)
จากรูปสังเกตได้ว่าเว็บที่ติดอันดับผลการค้นหา ข้อความใน Title Tag ล้วนแต่ใส่คำที่เป็นคีย์เวิร์ดในการค้นหาทั้งสิ้น หากเราไม่ได้ใส่คีย์เวิร์ดลงไปในจุดนี้ แต่ใช้เป็นข้อความอื่นแทน เช่น หน้าแรก, โฮมเพจ, ยินดีต้อนรับ จะทำให้โอกาสที่เว็บจะติดอันดับดีๆ น้อยกว่า ดังนั้นให้เรานำคีย์เวิร์ดหลัก และคีย์เวิร์ดรองมาผสมเขียนเป็นประโยคข้อความให้อ่านได้ใจความ ไม่ใช่ใส่แต่คีย์เวิร์ด แล้วอ่านไม่รู้เรื่องนะคะ แบบนี้คนอาจจะคลิกเข้ามาน้อยกว่าที่ควร ซึ่งเป็นอะไรที่น่าเสียดาย อย่าง enjoyday จะใส่ทั้ง 2 คำ คือ “สร้างเว็บไซต์” และ “สอนทำเว็บ”
ในกรณีที่เว็บของเรามีอันดับต่ำกว่า เราอาจจะต้องใช้วาทะศิลป์สักนิด เช่น อยู่หน้าแรกเหมือนกันแต่อยู่ลำดับที่ 4 ถ้าเราตั้งชื่อเว็บได้ชวนให้คลิกเข้ามาชม ผู้ชมก็จะเลือกคลิกมาที่เว็บเราด้วย คำที่มีผลก็เช่น สอนตั้งแต่พื้นฐาน, แบบละเอียด, แบบ stept by step, ฟรี เป็นต้น
คำแนะนำจาก Google
- ตั้งชื่อให้สื่อถึงเนื้อหาของหน้าเว็บ ไม่ควรปล่อยเป็นค่าเริ่มต้นที่ได้มาตอนเขียนเว็บเพจ เช่น Untitled, New Page1
- ตั้งชื่อให้แตกต่างกันในแต่ละหน้า หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อเดียวกันในทุกหน้า
- ตั้งชื่อที่สั้น แต่ได้ใจความ เพราะถ้ายาวเกินไป Google จะแสดงได้เพียงบางส่วน.
กรณีที่เราใช้ CMS เช่น WordPress และ Joomla! ไม่ได้เขียนเว็บเพจเอง ก็ยังสามารถกำหนด Title ปกติระบบการทำงานของ CMS จะใช้ชื่อบทความที่เราตั้งมาเป็น Title ให้อัตโนมัติ แต่ถ้าต้องการกำหนดเอง หรือเพิ่มคำต่อท้าย เช่น enjoyday จะเพิ่มชื่อเว็บไซต์ “enjoyday.net : สอนทำเว็บไซต์” ต่อจากชื่อบทความ สามารถทำได้โดยการติดตั้ง Plugin เพิ่ม เช่น SEO All in one หรือตัวอื่นๆ ก็ได้ แล้วเข้าไปกำหนดค่าตามต้องการค่ะ
บทความนี้เป้นบทความ ขึ้นชื่อจริง ๆ ชื่อไตเติ้ลซะด้วย อิอิ
งงหรอ
แก้ไขคำใหม่แล้ว ดีขึ้นมั้ย
ไม่งงนะครับ เก่งแซวพี่จอยเล่นเองๆๆ
อ่ะนะ
ยังใช้ได้อยุ่คับเทคนิคนี้ คอนเฟริม…อิอิ
ใช้ joomla จะเปลี่ยน Title Tag เองทุกหน้าได้ไหม
แล้วทำยังไง
แนะนำด้วยค่ะ
ไม่เอาตามชื่อ Article หรือคะ ถ้างั้น set ให้ใช้ Title Alias
ระบุ Alias ที่อยู่ข้างล่าง Title
http://www.enjoyday.net/2009/06/crate-joomla-article/
อันนี้ก็ดีนะคะ
http://www.enjoyday.net/2009/06/joomla-extension-sh404sef/
Can you share me for blogspot technic on this optimization…..?
โอ้โห… สุดยอดครับความรู้ขอบคุณครับ
ถ้าเรายิ่งทำแบบว่าใส่ title แล้วมีคำในคีย์ด้วยยิ่งดี นี้จริงไหมครับ
สวัสดีปีใหม่ค่ะพี่จอยและพี่เต้ย
มั่งคั่ง ร่ำรวย รุ่งเรือง สุขภาพแข็งแรงสมบรูณ์
มีความสุข ประสบความสำเร็จนะค่ะ
HAVE A NICE DAY.
ขอบคุณมากค่ะ เช่นกันนะคะ ^^