การติดตั้ง PrestaShop ทำได้ง่าย เพียงแค่อัพโหลดไฟล์ไปยัง Web server (Web hosting) แล้วใช้เวลาติดตั้งในเวลาไม่ถึง 5 นาที ก็ติดตั้งร้านค้าเสร็จแล้วค่ะ
ก่อนทำการติดตั้ง PrestaShop จะต้องเตรียม Web hosting, Domain name, โปรแกรม FTP client และ โปรแกรม Text editor ตามลิงค์นี้ แล้วจัดการกับ Domain name และ Host ก่อน ตามลิงค์นี้ ค่ะ
จากนั้นเรามาทำการติดตั้ง Prestashop กันเลยค่ะ
- ไปที่เว็บไซต์ http://www.prestashop.com/en/download แล้วดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรม ซึ่งเป็น .zip ไฟล์ มาไว้ที่เครื่อง (เวอร์ชั่นล่าสุด คือ prestashop_1.5.4.1.zip) แล้วให้ทำการแตกไฟล์ .zip ที่ดาวน์โหลดมา จะได้ folder “prestashop” และไฟล์ชื่อ “Install_PrestaShop.html” ซึ่งเป็นไฟล์ที่ลิงค์ไปหน้าเอกสารแนะนำการติดตั้ง PreastaShop
- อัพโหลดไฟล์ใน folder “prestashop” ไปยัง host ผ่านโปรแกรม FTP client (ถ้า cPanel File Manager ของ host ที่คุณใช้บริการสามารถแตกไฟล์ .zip ได้แนะนำให้ upload เป็น zip file แล้วไป Extract ผ่าน File Manager เอา จะเร็วกว่ามาก)
- ถ้าต้องการให้ร้านอยู่ที่ domain name เลย เช่น http://mywebsite.com/ ให้อัพโหลดไฟล์ไปไว้ที่ root directory ซึ่งชื่ออาจแตกต่างกันในแต่ละ host เช่น ที่ /htdocs, /public_html, /web, /www, /mywebsite.com เป็นต้น
- ถ้าต้องการให้ร้านอยู่ที่ sub domain เช่น http://shop.mywebsite.com/ ให้ไป สร้าง sub domain “shop” ใน control panel ก่อน แล้วอัพโหลดไฟล์ไปที่ sub domain นั้น
- ถ้าต้องการให้ร้านอยู่ที่ sub folder เช่น http://mywebsite.com/shop/ ให้สร้าง sub folder “shop” ผ่านโปรแกรม FileZilla ก่อน โดยเมื่ออยู่ที่ตำแหน่ง domain ที่ต้องการแล้ว ให้คลิกขวา แล้วเลือก “Create directory” จากนั้นให้อัพโหลดไฟล์ไปที่ folder นั้น
ในที่นี้จะติดตั้งที่ domain หลักเลย คือ alltrendystuff.com
- สร้างฐานข้อมูลสำหรับใช้เก็บข้อมูลร้านบน Web server โดยไปที่ Control Pane
- ไปที่ส่วนจัดการ Database คลิกที่เมนู MySQL Databases
- สร้างฐานข้อมูล
- สร้าง user ของฐานข้อมูล
- จับคู่ฐานข้อมูลกับ user
- กำหนดสิทธิ์การใช้งานฐานข้อมูลของ user
- ไปที่ส่วนจัดการ Database คลิกที่เมนู MySQL Databases
- เปิดโปรแกรม web browser พิมพ์ที่อยู่ URL สำหรับการติดตั้ง
- ถ้าร้านอยู่ที่ domain name พิมพ์ http://mywebsite.com/
- ถ้าร้านอยู่ที่ sub domain พิมพ์ http://shop.mywebsite.com/
- ถ้าร้านอยู่ที่ sub folder พิมพ์ http://mywebsite.com/shop/
แล้วจะถูก redirected ไปยัง folder /install/ โดยอัตโนมัติ
- จากนั้นให้ดำเนินการตามหน้าจอการติดตั้ง ซึ่งจะมี 6 ขั้นตอนStep1: Welcome Page จะมีข้อความแนะนำ PrestaShop สั้นๆ และให้เลือกภาษาที่จะใช้สำหรับตอนติดตั้ง ให้เลือก English
Step2: PrestaShop’s license จะพูดถึงข้อตกลงการใช้งาน ให้ติ๊กถูกที่ช่อง checkbox ทั้งสองอัน เป็นการยอมรับข้อตกลง
Step3: System compatibility ถ้าไม่มีติดปัญหาอะไรจะไป Step4 เลย
Step4: System configuration กรอกข้อมูลชื่อฐานข้อมูล user และรหัสผ่าน (ที่สร้างไว้ในข้อ 3)
Step5: Store Information กรอกข้อมูลเกี่ยวกับร้าน เลือกประเทศหลักเป็น Thailand และระบุอีเมล์กับรหัสผ่านที่จะใช้ login เข้าระบบจัดการร้าน
Step6: Store Installation ติดตั้งร้านค้า
- เมื่อติดตั้งเสร็จระบบจะแจ้งว่าติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ไปลบ folder “install” ทิ้ง ผ่านทางโปรแกรม FTP หรือ cPanel File Manager ของ host ก็ได้
- จากนั้นให้ทดลองเปิดดูเว็บหน้าร้าน และล็อกอินเข้าระบบหลังร้านดูค่ะ (ด้วยอีเมล์ และรหัสผ่านที่ระบุไว้ตอน Step5)
ถ้าเราไม่ไปลบ folder “install” ทิ้งก่อน เมื่อคลิกปุ่ม Manage your store เพื่อไปจัดการระบบหลังร้าน จะเจอข้อความแจ้งเตือน
แล้วจำลิงค์ทางเข้าระบบหลังร้านไว้ด้วยนะคะ เช่น http://www.alltrendystuff.com/admin6216/
ต้องขออภัยด้วยค่ะ ไม่ได้มาสอนต่อเลย ตอนนี้ผู้เขียนเปิดร้านขายของออนไลน์ได้ 2 ร้านแล้ว ยังไงแวะไปชมตัวอย่างกันได้ค่ะที่
http://www.24tshirts.com เว็บนี้เป็นร้านล่าสุดที่ทำ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างเว็บไซต์ร้านขายของออนไลน์ด้วย Prestashop ค่ะ
หลังจากได้ลงมือทำร้านด้วย Prestashop อย่างจริงจังแล้ว มันก็ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย เพราะมันมีอะไรยิบย่อยมากมายที่ต้องจัดการ กว่าร้านจะออกมาถูกใจได้อย่างที่เห็น เหนื่อยเอาเรื่องค่ะ (ปล. ร้านขายเสื้อนี้ หลักๆ แล้วคุณสามีลงมือทำให้ค่ะ)
เอาเป็นว่าสงสัย หรือติดปัญหาการใช้งาน Prestashop ให้สอบถามกันมาได้ค่ะ
ฝากร้าน 24tshirts.com ร้านขายเสื้อยืดหน่อยค่ะ เปิดร้านวันแรกพรุ่งนี้ มีโปรโมชั่นพิเศษด้วย แวะไปอุดหนุนกันได้ค่ะ